วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Cloud Computing คือ วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากรรวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับ ความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลาโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำ งานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร
นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing 
 
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร
 
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
 
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement)

เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Cloud Computing มีอะไรบ้าง
  • Agility ผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนทุกอย่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว
  • Cost ช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กร
  • Device and location independence ทุกที่ทุกเวลา ขอแค่คอมพิวเตอร์ กับ Internet Connection
  • Multi-tenancy สามารถแบ่างทรัพยากรไปให้ผู้ใช้จำนวนมาก
  • Reliability ความน่าเชื่อถือ มีความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามข้อมูลต่างๆมากแค่ไหน
  • Scalability พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการ … ความต้องการของผู้ใช้ และเตรียมรองรับเทคโนโลยีหลายๆรูปแบบ
  • Security สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ และยิ่งใน Cloud Computing แล้วข้อมูลอรวมอยู่ที่เดียวกัน ก็ยิ่งต้องเพิ่มความปลอดภัยให่มากยิ่งขึ้น
  • Sustainability โครงสร้างที่แข็งแรงต้องอาศัยความแข็งจากทุกส่วนรวมกัน

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบDLNA(Digtal living network ltlliance)



คำว่า DLNA  คือ ย่อมาจากคำว่า  Digital Living Network Alliance โดยหลักการที่น่าจะพอมองเห็นภาพง่ายๆก็คือ การทำให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคใดๆที่สามารถเชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ท และรองรับระบบ DLNA ได้นั้น สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ Notebook โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เครื่องเล่น บลูเรย์  หรือแม้แต่ AVRที่มีระบบ network  โดยสามารถทำให้เชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด หากต้องการจะดึงรูป เล่นเพลง หรือวีดีโอจากมือถือไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ 

DLNA หรือ Digital Living Network Alliance คงจะเคยเห็นกันในโน๊ตบุ๊คหลายยี่ห้อ ซึ่งเจ้าไอคอนนี้ เป็นเหมือนเครื่องหมาย ที่แสดงว่าเป็นมาตรฐานในอุปกรชิ้นนั้น ที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้ในเรื่องของ Digital Living Network Alliance ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครือข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" ซึ่ง DLNA เริ่มก่อตั้งในปี 2003 เพื่อให้บริษัทต่างๆทั่วโลก ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ และในวันนี้ก็มีกว่า 245 บริษัท ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทำงานร่วมกับ DLNA ได้ แล้วก็ทำงานของมันจะเป็นในระบบแบบใด สามารถดูได้จากภาพด้านล่างครับ

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ipv4 ipv6

 IPV4

 IPv4 คือ หมายเลข IP address มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท

ไอพี เวอร์ชั่น 4 ระบบไอพีที่ใช้ในปัจจุบัน คือ IPV4 ซึ่งจะเป็นระบบ 32 บิต หรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 ตัวเลขบางตัวเป็นไอพีสงวนไว้สำหรับหน้าที่เฉพาะเช่น 127.0.0.0 จะเป็นการระบุถึงตัวอุปกรณ์เองไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีไอพีสื่อสารจริงๆ เป็นเท่าไร อย่างไรก็ตามจากตัวเลขระบบที่จำกัดนี้สามารถเพิ่มขยายด้วยเทคนิคของไอพีส่วนตัว กับการแปลงไอพี NAT 684
 IPV6
IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 บิท IPv6 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 6
  Internet Protocol version 6 (IPv6) บางครั้งเรียกว่า Next Generation Internet Protocol หรือ IPng ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง (เช่น Gigabit Ethernet, OC-12,ATM) และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำงานในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่ำได้ (เช่น Wireless Network) นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับฟังก์ชันใหม่ๆ ของอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ต้องการใช้ในอนาคต ความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 มีอยู่ 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ ไอพีแอดเดรส (IP address) และการเลือกเส้นทาง (Addressing & Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Network Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)
 ความแตกต่างของ IPv4 และ IPv6
การกำหนดหมายเลขของ IPv4 จะกำหนดได้น้อยกว่า IPv6 สามารถกำหนดไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า และความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 คือ การเลือกเส้นทาง ( Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Networl Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices) 
  
 สรุป
 ความไม่พอเพียงของ IPv4 ที่กำลังจะหมดไป และคุณสมบัติที่เหนือกว่าอย่างมากของ IPv6 ไม่ช้าก็เร็วทุกภาคทุกหน่วยงานจำเป็นต้องนำ IPv6 มาใช้อย่างเลี่ยงไม่ได้ และต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบโครงข่ายให้รองรับกับการใช้งาน IPv6 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของผู้บริโภคในการใช้งานอิน เทอร์เน็ตและการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ดังนั้นผู้ให้บริการเหล่านี้ควรมีการศึกษาวางแผนเตรียมพร้อมล่วงหน้า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการนำ IPv6 มาใช้ในอนาคต โดยผู้ให้บริการควรสำรวจอุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถรองรับกับ IPv6 และวางแผนเตรียมพร้อมในการปรับปรุงโครงข่ายของตน ในส่วนของผู้พัฒนา product และแอพพลิเคชั่นก็สามารถที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ โดยศึกษาความต้องการของตลาด เพื่อคิดค้นออกแบบพัฒนา product หรือแอพพลิเคชั่นที่รองรับกับ IPv6 ซึ่งเหล่านี้ควรมีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะเมื่อถึงเวลาที่ IPv4 หมดลงจริงๆ ผู้ที่พร้อมมากกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ นอกจากนี้ความเร็วในการเข้ามาและการเตรียมความพร้อมที่ดีจะเป็นการเพิ่ม โอกาสทางการแข่งขันทางธุรกิจอีกด้วย